September 14, 2023 | SmartFrightThailand
Sea Freight คือ การขนส่งทางเรือ หรือการขนส่งทางทะเล
โดยใช้เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ และมักเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ เหมาะกับการขนส่งสินค้าที่มีปริมาณมาก ๆ หรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ทั้งยังเป็นหนึ่งในทางเลือกหลักสำหรับผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศที่ไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการขนส่งมากนัก และมีต้นทุนค่าระวางในการขนส่งต่ำกว่าการขนส่งแบบอื่น ๆ อีกด้วย ดูบริการ Sea Freight→
คำศัพท์เฉพาะที่น่ารู้เกี่ยวกับ Sea Freight คือ
สาระพันความรู้เกี่ยวกับ Sea Freight ระดับต้น ซึ่งนำเสนอในรูปแบบคำศัพท์-ภาพประกอบ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการเริ่มต้นประสานงานกับทางคู่ค้าและตัวแทนในต่างประเทศ รวมถึงบริษัท Freight Forwarder ทั้งเพื่อการนำเข้า-ส่งออก
• Container Ships •
Container Ships การขนส่งทางเรือโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ในการบรรจุสินค้า น่าจะเป็นรูปแบบการขนส่งทาง Sea Freight ที่เป็นรู้จักมากที่สุดในปัจจุบัน ด้วยมี ขนาดและประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ที่หลากหลาย ทำให้นำมาประยุกต์เพื่อโหลดสินค้าได้เกือบทุกชนิด จึงเป็นที่นิยมของผู้นำเข้า-ส่งออก ทั้งในแง่ของการขนถ่ายสินค้าเข้า-ออกจากตู้ และการขนส่ง-เคลื่อนย้ายตู้ ตลอดจนระบบศุลกากรทุกที่ทั่วโลกก็รองรับการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์นี้
ผู้นำเข้า-ส่งออก สามารถตรวจสอบเส้นทางการเดินเรือ และตารางการเดินเรือ ด้วยตนเองล่วงหน้า ผ่านทาง (SmartFreight) FB | Line | TEL
ตู้ขนาด 20 ฟุต
ตู้ขนาด 40 ฟุต
ตู้ขนาด 45 ฟุต
ส่วนคำว่า “ตู้ High Cube” เขียนย่อ HQ, HC ใช้เรียกตู้คอนเทนเนอร์ที่มีความสูงมากกว่าตู้ปกติประมาณ 1 ฟุต ซึ่งมีทั้งชนิด 40’HQ และ 45’HQ ที่ยังนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน
• Container Type •
Container Type คือ ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ หรือ แบบตู้คอนเทนเนอร์ ที่ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับการขนส่ง – การบรรจุสินค้าแต่ละชนิดที่มีความเฉพาะตัว โดยประเภทตู้ที่น่าสนใจ สำหรับการขนส่งทาง Sea Freight คือ
• Break Bulk •
Break Bulk Cargo คือ สินค้าที่ต้องขนส่งในลักษณะที่มีขนาดใหญ่มาก จนไม่สามารถบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์ได้ มักอยู่ในรูปของหีบห่อขนาดใหญ่มาก ๆ เช่น Jumbo Bag, กังหันลมเครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่, ท่อขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกินกว่า 4-5 เมตร เป็นต้น
Break Bulk Ship คือ เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะให้มีเครนบนเรือ เพื่อให้สามารถทำการโหลดสินค้าที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ได้ทีละชิ้น หรือ ทีละหีบห่อ ซึ่งขนาดของเรือขึ้นอยู่กับ สมรรถนะและจำนวนของเครน รวมทั้งขนาดระวางด้วย
• Bulk •
Bulk Cargo คือ สินค้าแบบเทกอง เช่น เมล็ดพืช แร่ หิน ดิน ทราย ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งจะขนส่งแบบไม่ต้องมีหีบห่อใด ๆ ใช้วิธีโหลดเข้าระวางเรือโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรกรรม หรือ สินค้าอุตสาหกรรม โดยจะทำการขนส่งในปริมาณครั้งละมาก ๆ และมักเป็นการเช่าเหมาลำ (chartered)
Bulk Ship คือ เรือบรรทุกสินค้าแบบเทกอง ที่ถูกออกแบบมาโดยแบ่งดาดฟ้าเรือออกเป็นส่วน ๆ เพื่อใช้เป็นฝาเปิด-ปิดขนาดใหญ่ในแต่ละช่องระวางของเรือเอง โดยในขณะโหลด Bulk Cargo ต้องเปิดฝาดาดฟ้าออกจึงจะทำการโหลดสินค้าได้ เมื่อโหลดเสร็จจึงปิดฝาระวางก็จะกลับมาเป็นดาดฟ้าเรือตามปกติ
• Ro-Ro •
Roll-on Roll-off หรือ Ro-Ro คือ เรือสำหรับบรรทุกสินค้าที่มี “ล้อ” เช่น รถยนต์ เครื่องจักร เป็นต้น โดยตัวเรือจะถูกออกแบบมาให้มีสะพานทางลาด (Ramp) จากลำตัวเรือมาสู่พื้น Terminal เพื่อให้สามารถทำการโหลดสินค้าโดยการขับขึ้น-ลงจากเรือ Ro-Ro ด้วยพนักงานขับรถได้
• Tanker Ships •
Tanker Ships คือ เรือสำหรับบรรทุกน้ำมันดิบ (Crude Oil) หรือก๊าซซึ่งอยู่ในรูปของเหลว เช่น LNG เป็นต้น
• Icebreaker Ships •
Icebreaker Ships คือ เรือตัดน้ำแข็ง เป็นเรือที่ถูกออกแบบมา เพื่อให้สามารถแล่นผ่านแผ่นน้ำแข็งในฤดูหนาว สำหรับบางภูมิภาคอย่างเช่น Baltic Sea ที่ผิวน้ำทะเลจะจับตัวกันเป็นชั้นน้ำแข็งหนา ซึ่งเรือบรรทุกสินค้าธรรมดาไม่สามารถแล่นผ่านไปได้
• SeaPort •
SeaPort คือ เมืองท่า/ท่าเรือเดินทะเล ซึ่งมีอยู่หลายร้อย Seaports ในมากกว่า 120 ประเทศทั่วโลก (บางประเทศก็ไม่มีหรือไม่ติดทะเล) โดยการขนส่งสินค้าทาง Seafreight ผู้นำเข้า-ส่งออก ควรทำการตรวจเช็คเมืองท่ากับผู้ให้บริการก่อนวางแผนการขนส่งเสมอ
• Sailing Schedule •
Sailing Schedule คือ ตารางหรือกำหนดการเดินเรือ ซึ่งจะแสดงข้อมูล เมืองท่าต้นทาง-ปลายทาง, วันเรือออก-เรือถึง, ระยะเวลาในการเดินทาง, รวมถึงเส้นทางการเดินเรือคร่าว ๆ ด้วย
• B/L หรือ Bill of Lading •
Bill of Lading หมายถึง ใบตราส่งทางเรือ เป็นสัญญาการขนส่ง ซึ่งผู้รับขนส่งสินค้าออกให้กับผู้ส่งสินค้า โดยจะระบุนามผู้ส่ง-ผู้รับสินค้า, ต้นทาง-ปลายทาง, ข้อมูลของสินค้า, Shipping Mark, ฯลฯ
ทั้งนี้ B/L ยังเป็นเอกสารสำคัญ ในการแสดงกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ขนส่งที่เปลี่ยนมือได้ (Negotiable) ของผู้ทรงสิทธิ์ ซึ่งผู้ทรงสิทธิ์จะใช้ในการขอรับสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง หรือจะใช้ในการขายต่อสินค้าให้กับผู้รับซื้อช่วงในระหว่างการขนส่งก็ได้
• Booking Confirmation •
Booking Confirmation นิยมเรียกว่า ‘ใบบุ๊ค’ เป็นเอกสารยืนยันการจองระวาง ซึ่งออกให้โดยผู้รับดูแลการขนส่ง ทั้งแบบ LCL และ FCL โดยรายละเอียดสำคัญที่ต้องแสดงใน ‘ใบบุ๊ค’ สำหรับการขนส่งทาง Sea Freight คือ
• CBM. หรือจำนวนคิว (กรณีส่งแบบ LCL)
• Amount of Container size & type เช่น 1 x 20’DC, 2 x 40’HQ เป็นต้น (กรณีส่งแบบ FCL)
• Port ต้นทาง / ปลายทาง
• Stuffing Date คือ วันที่บรรจุสินค้า
• Cut-Off Time หรือ Closing Time คือ วัน-เวลาในการ ปิดรับคืนตู้ฯ หรือ ปิดรับโหลดสินค้า
• Yard คือ สถานที่-ลาน ที่ต้องนำสินค้าไปบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์, ลานคืนตู้
• Estimate Time Departure หรือ ETD คือ วัน-เวลา ที่เรือจะออกจากท่าเรือต้นทาง
• Estimate Time Arrival หรือ ETA คือ วัน-เวลา ที่เรือจะถึงท่าเรือปลายทาง
ดูคำศัพท์โลจิสติกส์ เพิ่มเติม →
• Transit Time •
Transit Time คือ ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการเดินเรือนับตั้งแต่เรือออกจากท่าเรือต้นทางจนกระทั่งเรือถึงที่ Port ปลายทาง