September 14, 2023 | SmartFreightThailand

FCL คือ การขนส่งแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์

Full Container Load หรือ FCL คือ การขนส่งทางเรือหรือทางทะเล ในกรณีที่สินค้ามีปริมาณมากการขนส่งแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ จะสร้างความได้เปรียบด้านราคาให้แก่ผู้นำเข้า-ส่งออก เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่งต่อหน่วยที่ต่ำกว่าการขนส่งแบบอื่น ดูบริการ FCL→

โดยสินค้าทั้งตู้จะเป็นของผู้นำเข้า-ส่งออกเพียงรายเดียวเท่านั้น แตกต่างจากการขนส่งแบบ LCL ที่สินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์จะเป็นของลูกค้าหลาย ๆ รายมารวมกัน LCL คือ→

FCL คือ

คำศัพท์เฉพาะที่น่ารู้เกี่ยวกับ FCL คือ

สาระน่ารู้เกี่ยวกับการขนส่งแบบ FCL ระดับเริ่มต้น โดยนำเสนอในรูปแบบคำศัพท์-ภาพประกอบ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ เพื่อใช้สำหรับการประสานงานกับ บริษัท Freight Forwarder ทั้งเพื่อการนำเข้า-ส่งออก

• Container Size •

Container Size คือ ขนาดความยาวของตู้คอนเทนเนอร์ ที่เป็นมาตรฐาน สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั่วโลก ขนาดตู้ที่ควรรู้ สำหรับการส่งแบบ FCL คือ

FCL 20 ft Container

ตู้ขนาด 20 ฟุต

FCL 40 ft Container

ตู้ขนาด 40 ฟุต

FCL 45 ft Container

ตู้ขนาด 45 ฟุต

ดูมิติภายในตู้คอนเทนเนอร์→

ส่วนคำว่า “ตู้ High Cube” เขียนย่อ HQ, HC ใช้เรียกตู้คอนเทนเนอร์ที่มีความสูงมากกว่าตู้ปกติประมาณ 1 ฟุต ซึ่งมีทั้งชนิด 40’HQ และ 45’HQ ที่ยังนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน

• Container Type •

Container Type คือ ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ หรือ แบบตู้คอนเทนเนอร์ ที่ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับการขนส่ง – การบรรจุสินค้าที่มีความหลากหลาย ประเภทตู้ที่ควรรู้ สำหรับการส่งแบบ FCL คือ

20 ft Dry Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้แห้ง, ตู้ธรรมดา (General Purpose)
สำหรับบรรจุสินค้าทั่วไป – Dry Cargo

20 ft Open Top Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้ Open Top
สำหรับสินค้าที่ต้องบรรจุจากด้านบน

20 ft Flat Rack Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้ Flatrack
สำหรับบรรจุสินค้า oversize

20 ft Open Top Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้ Open Top
สำหรับสินค้าที่ต้องบรรจุจากด้านบน

20 ft Flat Rack Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้ Flatrack
สำหรับบรรจุสินค้า oversize

40 ft Reefer Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้เย็น (Reefer)
สำหรับสินค้าควบคุมอุณหภูมิ

20 ft Flat Rack Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้ Flatrack
สำหรับบรรจุสินค้า oversize

40 ft Reefer Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้เย็น (Reefer)
สำหรับสินค้าควบคุมอุณหภูมิ

20 ft Dry Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้แห้ง, ตู้ธรรมดา (General Purpose)
สำหรับบรรจุสินค้าทั่วไป – Dry Cargo

40 ft Reefer Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้เย็น (Reefer)
สำหรับสินค้าควบคุมอุณหภูมิ

20 ft Dry Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้แห้ง, ตู้ธรรมดา (General Purpose)
สำหรับบรรจุสินค้าทั่วไป – Dry Cargo

20 ft Open Top Container SmartFreight Freight Forwarder

ตู้ Open Top
สำหรับสินค้าที่ต้องบรรจุจากด้านบน

ดูประเภทตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด →

• Seal •

FCL Seal
FCL Seal
FCL Seal
Seal

Seal หรือ Container Seal คือ ซีลล็อคตู้คอนเทนเนอร์ ทำหน้าที่เสมือนแม่กุญแจ แต่มีความพิเศษตรงที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว และซีลแต่ละตัวจะมีรหัสเฉพาะที่ใช้คู่กับตู้คอนเทนเนอร์แต่ละตู้ ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยในอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยที่ชุดข้อมูลดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลศุลกากรทั้งฝั่งต้นทางและปลายทางอีกด้วย

• Seaport •

Sea Port

Seaport คือ เมืองท่า หรือ ท่าเรือสำหรับเรือเดินสมุทร ซึ่งมีอยู่หลายร้อย Seaports ในมากกว่า 120 ประเทศทั่วโลก (บางประเทศก็ไม่มีหรือไม่ติดทะเล) ส่วนบางประเทศนอกจากจะมีหลาย Seaport แล้ว ในแต่ละ Seaport ยังมีด้วยกันหลาย Terminal อีกด้วย เช่น Hochiminh Port ในเวียดนาม ประกอบไปด้วย Terminal Hochiminh: City, VICT, Catlai? (Sea Freight – Port Guide→)

• Sailing Schedule •

Sailing Schedule คือ กำหนดการเดินเรือ-ตารางเดินเรือ ซึ่งจะแสดงทั้งเมืองท่าต้นทาง-ปลายทาง, วันเรือออก-เรือถึง, ระยะเวลาในการเดินทาง, รวมถึงเส้นทางการเดินเรือคร่าว ๆ ด้วย

• Vessel / Feeder •

FCL vessel

Mother Vessel หรือ Vessel คือ เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ นิยมเรียกว่า “เรือแม่” ซึ่งมีระวางบรรทุกตั้งแต่หลักพัน จนถึงหลักหมื่นตู้คอนเทนเนอร์เลยทีเดียว

FCL feeder

Feeder Vessel หรือ Feeder คือ เรือลำเลียงตู้ นิยมเรียกว่า “เรือลูก” ซึ่งมีระวางบรรทุกตู้ฯ ตั้งแต่ หลักร้อยจนหลักพัน TEU (TEU: Twenty Equity Units หรือ ตู้สั้น)

• Booking Confirmation •

นิยมเรียกว่า “ใบบุ๊ค” เป็นเอกสารยืนยันการจองระวาง สำหรับการขนส่งแบบ FCL ซึ่งในใบบุ๊คจะแสดงรายละเอียดที่สำคัญคือ

  • Shipper Name คือ ชื่อผู้ส่งสินค้า
  • Amount of Container size & type เช่น 1 x 20’DC, 2 x 40’HQ เป็นต้น
  • Port of Loading หรือ POL คือ ท่าเรือต้นทาง
  • Port of Discharge หรือ POD คือ ท่าเรือปลายทาง
  • CFS Yard คือ สถานที่-ลาน ที่ต้องนำสินค้าไปบรรจุเข้าตู้ (Term-CFS)
  • CY Place คือ สถานที่รับตู้ (Term-CY)
  • Return Place คือ สถานที่คืนตู้
  • Cut-Off Time คือ วัน-เวลา ในการรับคืน-ปิดรับตู้ฯ
  • Estimate Time Departure?หรือ ETD คือ วัน-เวลา ที่เรือจะออกจากท่าเรือต้นทาง
  • Estimate Time Arrival หรือ ETA คือ วัน-เวลา ที่เรือจะถึงท่าเรือปลายทาง
  • Freight Prepaid คือ ค่าเฟรทชำระที่ต้นทาง
  • Freight Collect คือ ค่าเฟรทชำระที่ปลายทาง

ดูคำศัพท์โลจิสติกส์ เพิ่มเติม →

• B/L หรือ Bill of Lading •

Bill of Lading (B/L) คือ ใบตราส่งทางเรือ เป็นสัญญาการขนส่ง ซึ่งผู้รับขนส่งสินค้าออกให้กับผู้ส่งสินค้า โดยจะระบุนามผู้ส่ง-ผู้รับสินค้า, ต้นทาง-ปลายทาง, ข้อมูลของสินค้า, Shipping Mark, ฯลฯ

  • Shipper name คือ ชื่อผู้ส่งสินค้า
  • Consignee name คือ ชื่อผู้รับมอบสินค้า
  • Amount of Container size & type เช่น 1 x 20’DC, 2 x 40’HQ เป็นต้น
  • Port of Loading หรือ POL คือ ท่าเรือต้นทาง
  • Port of Discharge หรือ POD คือ ท่าเรือปลายทาง
  • Description รายละเอียดของสินค้า เช่น จำนวน น้ำหนัก ลักษณะแพคเกจ ฯลฯ
  • On Board Date คือ วันเรือออก ซึ่งจะถูกระบุไว้บนใบตราส่ง (B/L) สำหรับการส่งแบบ FCL คือ ต้องรอให้เรือออกก่อนแล้วถึงจะสามารถระบุวันเรือออกได้

ทั้งนี้ B/L เป็นเอกสารสำคัญในการแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าที่ขนส่งซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนมือได้ (Negotiable) คล้ายกับตั๋วแลกเงินหรือเช็ค ซึ่งผู้รับมอบตามใบตราส่งสามารถนำไปใช้แสดงเพื่อขอรับสินค้า ณ ท่าเรือปลายทาง หรือจะใช้ในการขายต่อสินค้าให้กับผู้รับซื้อช่วงในระหว่างการขนส่งก็ได้

• Packing List & Invoice •

เอกสารที่ใช้ประกอบการผ่านพิธีการทั้งขาเข้า-ขาออก ซึ่งเป็นความรับผิดชอบผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก ที่จะต้องสำแดง ลักษณะบรรจุภัณฑ์สินค้า ตลอดจนมูลค่าสินค้า ให้เป็นไปตามระเบียบของศุลกากร

Packing List คือ เอกสารที่ใช้แสดงรายการบรรจุภัณฑ์, Dimension, น้ำหนัก, จำนวนสินค้า Shipping Mark ฯลฯ

Invoice or Commercial Invoice คือ เอกสารสำหรับแสดง รายการสินค้า, ราคา, Incoterm, ชื่อผู้ซื้อ-ผู้ขาย, Seaport?ต้นทาง-ปลายทาง, ฯลฯ

?เทคนิคการทำเอกสาร Invoice และ Packing List สำหรับ Shipment ที่รายการสินค้าไม่มากนัก ทั้งแบบ LCL และ FCL คือ สามารถให้รวมแสดงไว้ในใบเดียวกันได้

• Local Charge •

THC หรือ Terminal Handling Charge คือ ค่าธรรมเนียมในการใช้ท่าเรือ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จะถูกเรียกเก็บโดยผู้ให้บริการ Terminal เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายใน Terminal เช่น การใช้พื้นที่เพื่อพักตู้ การใช้เครนไฟฟ้ายกตู้ขึ้นเรือ-ลงเรือ เป็นต้น

FCL Terminal

สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับค่า THC เมื่อส่งแบบ FCL คือ การเรียกเก็บ THC อาจมีอัตราต่างกันเล็กน้อย ในแต่ละสายเรือ หรือแต่ละเอเย่นต์

• CFS charge •

CFS Charge หรือ Container Freight Station Charge คือ ค่าธรรมเนียมการโหลดสินค้า เข้า-ออกจากตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงค่าย้ายตู้จากลานโหลดไปยัง Terminal

สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับ CFS charge เมื่อส่งแบบ FCL คือ CFS charge อาจจะเรียกเก็บในอัตราไม่เท่ากันในแต่ละเอเย่นต์หรือ แต่ละสายเรือ เช่นเดียวกับค่า THC

• D/O หรือ Delivery Order •

Deliver Order หรือ D/O คือ ใบปล่อยสินค้า ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องนำใบตราส่ง (B/L) ฉบับจริงไปแลกจากเอเย่นต์หรือสายเรือ เพื่อนำไปประกอบชุดเอกสารสำหรับเดินพิธีการขาเข้า

• Transhipment •

Transshipment หรือ Transhipment คือ การถ่ายลำเรือ ยกตัวอย่างเช่น ตู้สินค้าที่จะเข้าท่าเรือคลองเตยมักจะต้องทำการถ่ายลำที่ Hong Kong Port หรือ Singapore Port เป็นต้น

• Transit Time •

Transit Time คือ ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการเดินเรือนับตั้งแต่เรือออกจากท่าเรือต้นทางจนกระทั่งเรือถึงที่ Port ปลายทาง

• Incoterms •

International Commercial Terms (Incoterms) คือ ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีด้วยกัน 11 เทอม Incoterms 2020→

ดูบริการ FCL →

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ FCL & ปรึกษาปัญหาด้านการนำเข้า-ส่งออก
ได้ทุกวัน? จันทร์-ศุกร์ 08:30-17:00
Tel – 02 458 5282
Line – @SmartFreight

และสามารถกดติดตาม SmartFreight ผ่านทาง
Facebook – SmartFreightThailand

Related Post